วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ยุทธศาสตร์ กศน.
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จากภารกิจของชาติด้านการศึกษา บริบทต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับอำนาจหน้าที่ ของสำนักงาน กศน.
จึงไดกำหนดกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 สำนักงาน กศน. ดังนี้
วิสัยทัศน์
คนไทยทุกกลุม ทุกชวงวัย
เข้าถึงโอกาสทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
เท่าเทียม เป็นพลเมืองดี และมีศักยภาพ
สามารถอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรูตลอดชีวิตอย่างมีความสุข
รวมทั้งเป็นพลังในการพัฒนาประเทศ
เป้าประสงค์
ประชาชนผู้รับบริการ ทุกกลุม
ทุกชวงวัย มีความรูความสามารถรอบด้านเพียงพอต่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขบนพื้นฐานของคุณธรรม
จริยธรรม คานิยมหลักของคนไทย 12 ประการ มีศักยภาพในการผลิตทางเศรษฐกิจ
การสร้างสังคมคุณภาพ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
และมีความใฝ่รูอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
พันธกิจ
1)
จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกกลุม
ทุกช่วงวัย มีโอกาสการเรียนรูอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
2) ส่งเสริม
สนับสนุนภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เพื่อตอบสนองความต้องการทางการศึกษาของประชาชนอย่างหลากหลาย
3)
พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ และภารกิจ ทั้งระดับนโยบาย
และระดับปฏิบัติของหน่วยงาน สถานศึกษา รวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ตอบสนองนโยบายเร่งดวน
(หวังผลใน 3 เดือน)
1)
เร่งทบทวนหลักสูตรแกนกลางและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่น
รวมทั้งหลักสูตรที่สอดคลองกับบริบทของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย และการเรียนการสอน
ที่มุ่งพัฒนา กระบวนการคิดเป็น มีคุณธรรมนำความรู
และปฏิบัติตนตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์
และยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความภาคภูมิใจในการเป็นคนไทย
2) เร่งรัดในการนำคูปองการศึกษา
หรือคูปอง กศน. หรือคูปองการเรียนรูตลอดชีวิตมาใช้ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของประชาชนผู้รับบริการให้สอดคลองกับความต้องการ
ซึ่งก่อให้เกิดความเป็นธรรม
3) เร่งพิจารณาทบทวนการอุดหนุนรายหัว
และค่าอุปกรณ์การเรียนการสอนแกผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ
รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้ยากจน ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ตอบสนองนโยบายเฉพาะ
(หวังผลใน 1 ป)
1)
เร่งพัฒนาและสนับสนุนการแกไขปัญหาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีการเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์/แผนพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นระบบ
และสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อใหการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่งที่มีพลังในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในบทบาทที่เกี่ยวข้องไดอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและรายงานผลอย่างเป็นระบบ
และปรับเปลี่ยนไดอย่างทันท่วงทีตามนโยบายและสถานการณ
2) เร่งรัดพัฒนา กศน.
ให้มีความพรอมทั้งด้านภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
และด้านทักษะอาชีพหลักสูตรระยะสั้นในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.2558
และการดำรงความต่อเนื่องเมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแลว
3)
สนับสนุนให้นำสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่หลากหลาย
และมีคุณภาพมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดการศึกษา
และขยายโอกาสในการเข้าถึงการจัดบริการการศึกษาและการเรียนรูของกลุ่มเป้าหมายทั้งในประเทศ
และต่างประเทศที่หวังผลไดอย่างแท้จริง
4) พัฒนาระบบการนิเทศ
การดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความคลองตัวในการจัดบริการการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมาย
โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินการนิเทศจากระดับนโยบายสูระดับปฏิบัติ
ตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ สถานศึกษา และหน่วยจัดบริการ อย่างเป็นระบบ
5) กำหนดแนวทาง
และดำเนินการในข้อกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกของประชาชน
เพื่อให้การศึกษาทางเลือก เป็นการศึกษาอีกประเภทหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการทางการศึกษาและการเรียนรูของประชาชนผู้รับบริการ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมในการจัดของภาคส่วนต่างๆอย่างกว้างขวาง
6) เร่งรัด ติดตามผล
หน่วยงานและสถานศึกษาทุกระดับ บริหารการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
โดยใช้นโยบายและแผน รวมทั้งระบบการกระจายอำนาจเป็นกลไกการดำเนินงานที่สำคัญ
โดยมีการสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างผู้มีส่วนไดสวนเสีย
เพื่อเป็นนโยบายและแผนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการนำนโยบายไปสูการปฏิบัติที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
ข้อมูล กศน.อ.งาว
ข้อมูลทั่วไปของ
กศน.อำเภองาว
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว
จัดตั้งขึ้นเป็นสถานศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๓๖
อยู่ในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ
ได้ให้ถือว่าเป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะของการศึกษานอกระบบและอัธยาศัยเพื่อให้บริการทางการศึกษาแก่ประชาชนผู้ด้อย
/ พลาด /ขาดโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปางปัจจุบันมี นางนงนุช
ถาวรวงศ์ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา
ในปี ๒๕๓๙
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภองาว ได้รับการสนับสนุนจากชมรมกำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนทั่วไปก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์จำนวน ๑
หลังใช้เงินค่าก่อสร้างจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
อาคารเอนกประสงค์ดังกล่าวเริ่มใช้ประโยชน์ตั้งแต่เดือน มกราคม ๒๕๓๙ และปีงบประมาณ ๒๕๔๐ ได้รับเงินสนับสนุนจากชมรมนักศึกษาและวัดนางเหลียวอำเภองาว
ก่อสร้างอาคารพบกลุ่มขึ้นอีก ๑ หลัง จำนวน
๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) เริ่มใช้ประโยชน์ตั้งแต่เดือน สิงหาคม ๒๕๔๐
เป็นต้นมาในวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๑ กรมการศึกษานอกโรงเรียนโดยนายอุดม
พรมแก้วงาม ได้ทำการแบ่งเช่าที่วัดนางเหลียว
มีนายประยงค์ ศรีชุม เป็นตัวแทน
ทำข้อตกลงเช่าที่เป็นเวลา ๓๐ ปีเสียค่าเช่าจำนวน ๑๔,๔๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันสี่ร้อยบาทถ้วน)
แบ่งชำระเงินเป็นรายปีๆละ ๔๘๐ บาท
กำหนดชำระภายในเดือนตุลาคมของทุกปี
ในการให้บริการทางการศึกษาของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภองาวได้กำหนดให้มีการบริการทางการศึกษาใน
๔ ด้าน คือการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะชีวิต และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมชุมชน
ทั้งนี้ยังมีโครงการพิเศษนอกเหนือจากกิจกรรมดังกล่าวแล้วข้างต้นตามโอกาสที่ได้รับมอบหมายในช่วงระยะเวลาของการดำเนินงานกิจกรรม
แผนพัฒนาเสรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ
โดยมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันในมิติต่างๆ ให้แก่ ปัจเจกครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศ
โดยใช้แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พร้อมทั้งขยายการนาทุนของประเทศที่มีศักยภาพจาก 3 ทุน ทั้งทุนสังคม ทุนเศรษฐกิจ
และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็น 6 ทุน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม
ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และทุนทางวัฒนธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน
โดยเฉพาะการสร้างฐานทางปัญญา
เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับคนและสังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพ
ก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจสีเขียวที่มีแบบแผนการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยนาความรู้และจุดแข็งของ
อัตลักษณ์ไทยมาปรับโครงสร้างเศรษฐกิจบนฐานนวัตกรรมที่เข้มแข็ง
เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างรู้เท่าทัน
สร้างความยั่งยืนของภาคเกษตร และความมั่นคั่งด้านอาหารและพลังงานรวมทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบ
ธรรมาภิบาลและความสมานฉันท์ในทุกภาคส่วนและทุกระดับเป็นฐานการพัฒนาประเทศที่มั่นคงและสมดุล
มุ่งสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขและเป็นธรรม
แนะนำตัว
ประวัติส่วนตัว
นางสาวนุชจรินทร์
จำปาคำ
ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
เลขที่ 35
หมู่ที่ 5 ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ
จังหวัดลำปาง 52220
ที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อได้
เลขที่ 16/2
หมู่ที่ 1 ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง
จังหวัดลำปาง 52000
โทรศัพท์ 093-1743074
จุดมุ่งหมายของชีวิตการทำงาน
:
ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน
ข้อมูลส่วนตัว : เกิดวันที่ 4 ธันวาคม 2528 ปัจจุบันอายุ 28 ปี สถานภาพปัจจุบัน สมรส
ประวัติการศึกษา
ปี พ.ศ
|
ระดับการศึกษา
|
ชื่อสถาบัน
|
สาขางานเอก
|
2547 - 2550
|
ปริญญาตรี
|
มหาวิทยาลัยโยนก
|
สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศษสตร์
|
2545 - 2547
|
มัธยมศึกษาศึกษาตอบปลาย
|
โรงเรียนลำปางกัลยาณี
|
อังกฤษ – สังคม
|
2535 - 2547
|
อนุบาล - มัธยมศึกษาตอนต้น
|
โรงเรียนวิชชานารี
|
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)