1.
เรื่อง
การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือไทย ของนางทิม ยมรัชวงค์ กศน.ตำบลบ้านโป่ง
อำเภองาว
2.
ชื่อผู้วิจัย นางสาวนุชจรินทร์ จำปาคำ กศน.ตำบลบ้านโป่ง กศน. อำเภองาว
3.
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยที่ไม่รู้
หรือลืมหนังสือ ได้เรียนรู้หนังสือไทย สามารถฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทย คิดคำนวณเบื้องต้น
และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ประชาชนสามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข โดยการส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยที่ไม่รู้
หรือลืมหนังสือ ได้เรียนรู้หนังสือนี้ เน้นการเรียนรู้ตามสภาพความต้องการและปัญหาของสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้เรียน
โดยเฉพาะประชาชนในวัยแรงงาน อายุ ๑๕ – ๕๙ ปี
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว
ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการจัดส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการศึกษาให้แก่กลุ่มผู้ไม่รู้หนังสือ
ทุกพื้นที่ในอำเภองาว ผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ที่ฟัง พูดภาษาไทยได้
แต่อ่านไม่ออก และเขียนไม่ได้ โดยใช้หลักสูตรการรู้หนังสือไทย พ.ศ.2557 ซึ่งประกอบด้วย ความรู้และทักษะภาษาไทย จำนวน 12
สภาพ (มีคำหลักที่ใช้ในชีวิตประจำวันให้เรียน
988 คำ แต่ให้ ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้ไม่น้อยกว่า
800 คำ ) โดยบูรณาการเป็นสภาพการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตผู้เรียน ครอบครัว
ชุมชน และสังคม กำหนดให้ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน และผ่านการประเมินให้ครบทั้ง 12
สภาพ
โดยผู้ที่จบหลักสูตรการรู้หนังสือไทย พ.ศ. 2557 จะต้องมีความสามารถในการฟัง พูด
อ่าน เขียน ตามคลังคำที่กำหนดไม่น้อยกว่า 800 คำนี้
ในการจัดการเรียนการสอนผู้เรียนหลักสูตรการรู้หนังสือไทยใน ภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2560 ก่อนที่จะเรียนสภาพที่ 1 ผู้เรียนจะต้องผ่านมีการวัดความรู้พื้นฐานการเรียน
โดยวัดจากการอ่านพยัญชนะ สระ ภาษาไทย ทั้งหมดจำนวน 35 คน พบว่า มีผู้เรียน จำนวน 1
คน คือ นางทิม ยมรัชวงค์ ที่มีปัญหาในการอ่านพยัญชนะไทย จาก 44
ตัว สามารถอ่านได้ 39 ตัว และอ่านไม่ได้จำนวน 5
ตัว โดยตัวที่อ่านไม่ได้ ได้แก่ ษ ฎ ฏ ฐ ฌ และการอ่านสระในภาษาไทยจากหมดทั้ง
32 ตัว สามารถอ่านได้ 16 ตัว โดยตัวที่อ่านไม่ได้
ได้แก่( เ-ะ) สระเอะ ,
( เ-า) สระเอา
, (-อ ) สระออ , (เ-าะ) สระเอาะ , (เ อื
อ) สระเอือ , (เ อี ย) สระเอีย ,(อัว) สระอัว,(อึ) สระอึ
, (อือ) สระอือ, (แ-ะ) สระแอะ, (แ-)
สระแอ , (เ อี ยะ) สระเอียะ , (เ-อ)สระเออ
, (เ-อะ)
สระเออะ , (โ-ะ) สระโอะ,(โ-) สระโอ ทำให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในสภาพที่ 1 ให้กับผู้เรียนต่อไปได้
จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในฐานะผู้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรการรู้หนังสือไทย จึงสนใจทำวิจัยพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือไทย
ของ นางทิม ยมรัชวงค์ เพื่อให้อ่าน พยัญชนะ สระในภาษาไทยได้
เพื่อที่เข้าสู่การเรียนในสภาพที่ 1
4.
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือไทย
ของนางทิม ยมรัชวงค์ กศน.ตำบลบ้านโป่ง อ.งาว
5.
วิธีดำเนินการวิจัย
5.1
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ผู้เรียนหลักสูตรการส่งเสริมการรู้หนังสือไทย
จำนวน 1
คน
5.2
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
5.2.1
หนังสือแบบเรียนการส่งเสริมการรู้หนังสือไทย
5.3
เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูล
5.3.1
แบบบันทึก
5.4
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบบันทึก
ในการเก็บข้อมูล โดยการใช้สื่อสระภาษาไทย สอนทุกครั้งที่มีการจัดการเรียนการสอน
ทั้งหมด 7
ชั่วโมง โดยมีการบันทึกข้อมูลดังนี้
5.4.1
การจัดการเรียนการสอนชั่วโมงที่ 8 การประเมินการอ่านออกเสียงพยัญชนะ สระภาษาไทย ครั้งที่
1
5.4.2
การจัดการเรียนการสอนชั่วโมงที่ 9 การประเมินการอ่านออกเสียงพยัญชนะ สระภาษาไทย
ครั้งที่ 2
5.4.3
การจัดการเรียนการสอนชั่วโมงที่ 10 การประเมินการอ่านออกเสียงพยัญชนะ สระภาษาไทย
ครั้งที่ 3
5.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้แบบบันทึกข้อมูลจำนวน 3 ครั้ง แยกเป็นการบันทึกข้อมูล
การอ่านพยัญชนะไทย 5 ตัว
และแบบบันทึกข้อมูลการอ่านสระภาษาไทย 32 ตัว
6
ผลการวิจัย
การอ่านพยัญชนะไทย
จากการที่ได้ทำการจัดการเรียนการสอนให้กับนางทิม ยมรัชวงค์ โดยการใช้สื่อพยัญชนะ
จำนวน 5
ชั่วโมง นั้น ปรากฏว่า นางทิม ยมรัชวงค์
มีการอ่านออกเสียงพยัญชนะไทย 5 ตัว ได้แก่ ษ ฎ ฏ ฐ ฌ จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่
|
พยัญชนะไทย
ที่อ่านได้
|
จำนวนที่อ่านได้
(ตัว)
|
คิดเป็นร้อยละ
|
1
|
ฐ
|
1
|
20.00
|
2
|
ฐ
ฌ ษ
|
3
|
60.00
|
3
|
ษ
ฎ ฏ ฐ ฌ
|
5
|
100
|
สรุปผลการอ่านพยัญชนะไทย
จากการบันทึกการอ่านพยัญชนะไทย
5 ตัว ครั้งที่ 1 ของ นางทิม ยมรัชวงค์ ผลที่ได้ คือ สามารถอ่าน ได้ 1 ตัว คือ ฐ คิดเป็นร้อยละ 20.00 ครั้งที่ 2 สามารถอ่านได้ 3 ตัว คิดเป็นร้อยละ 60.00 และครั้งที่ 3 สามารถอ่านได้ 5 ตัว คิดเป็นร้อยละ 100
จากการใช้สื่อพยัญชนะไทย
44 ตัวช่วยในการจัดการเรียนการสอน
สามารถช่วยให้ นางทิม ยมรัชวงค์
สามารถอ่านออกเสียงพยัญชนะที่จากเดิมไม่สามารถออกเสียงได้ถูกต้อง ได้แก่ ษ ฎ ฏ
ฐ ฌ ทำให้สามารถออกเสียงได้ถูกต้อง ครบทั้ง 5 ตัว คิดเป็นร้อยละ 100
ประเมินได้จากแบบบันทึกผลการอ่านพยัญชนะ
การอ่านสระภาษาไทย
จากการที่ได้ทำการจัดการเรียนการสอนให้กับนางทิม ยมรัชวงค์
โดยการใช้สื่อ สระภาษาไทย จำนวน 7 ชั่วโมง นั้น ปรากฏว่า นางทิม
ยมรัชวงค์ มีการอ่านออกเสียงสระภาษาไทย ได้ 16 ตัว ได้แก่ (
เ-ะ) สระเอะ , (
เ-า) สระเอา
, (-อ ) สระออ ,
(เ-าะ) สระเอาะ
, (เ อื อ) สระเอือ
, (เ อี ย) สระเอีย
,(อัว) สระอัว,(อึ) สระอึ , (อือ) สระอือ,
(แ-ะ) สระแอะ, (แ-) สระแอ , (เ อี ยะ) สระเอียะ
, (เ-อ)สระเออ , (เ-อะ) สระเออะ , (โ-ะ) สระโอะ,(โ-) สระโอ จำนวน 3 ครั้ง ปรากฏว่าได้ผลดังนี้
ครั้งที่
|
สระภาษาไทย
ที่อ่านได้
|
จำนวนที่อ่านได้
(ตัว)
|
คิดเป็นร้อยละ
|
1
|
( เ-ะ) สระเอะ ,
( เ-า) สระเอา , (-อ
) สระออ , (เ-าะ) สระเอาะ , (เ อื อ) สระเอือ , (เ อี ย) สระเอีย ,(อัว) สระอัว
|
7
|
43.75
|
2
|
( เ-ะ) สระเอะ , ( เ-า) สระเอา , (-อ ) สระออ , (เ-าะ) สระเอาะ , (เ อื อ) สระเอือ , (เ อี ย) สระเอีย ,(อัว) สระอัว, (อึ) สระอึ ,
(อือ) สระอือ
|
9
|
56.25
|
3
|
( เ-ะ) สระเอะ ,
( เ-า) สระเอา , (-อ ) สระออ , (เ-าะ) สระเอาะ , (เ อื อ) สระเอือ , (เ อี ย) สระเอีย ,(อัว) สระอัว,(อึ) สระอึ , (อือ) สระอือ, (แ-ะ) สระแอะ,
(แ-) สระแอ , (เ อี ยะ) สระเอียะ , (เ-อ)สระเออ
, (เ-อะ) สระเออะ , (โ-ะ) สระโอะ,(โ-) สระโอ
|
16
|
100.00
|
สรุปผลการอ่านสระภาษาไทย
จากการบันทึกการอ่านออกเสียงสระภาษาไทย
จาก 32 ตัว ของนางทิม รัชยมวงค์ โดยการใช้สื่อ
สระภาษาไทย ครั้งที่ 1 ปากฎว่า สามารถอ่านได้ 7 ตัว ได้แก่ สระเอียะ สระเออ
สระเออะ สระโอะ สระเอะ สระโอ
สระเอา คิดเป็นร้อยละ 43.75 จากการอ่านครั้งที่ 2 ปากฎว่า สามารถอ่านได้ 9 ตัว ได้แก่ สระเอียะ
สระเออ สระเออะ สระโอะ สระเอะ สระโอ
สระเอา สระแอะ สระแอ คิดเป็นร้อยละ 56.25 และครั้งที่ 3 ปากฎว่า สามารถอ่านได้ 16 ตัว ได้แก่ สระเอียะ สระเออ
สระเออะ สระโอะ สระเอะ สระโอ
สระเอา สระออ สระเอาะ สระเอือ สระเอีย
สระอัว สระอึ สระอือ สระแอะ
สระแอ
คิดเป็นร้อยละ 100 จะเห็นได้ว่า จากที่นางทิม ยมรัชวงค์
สามารถอ่านสระภาษาไทย จากทั้งหมด 16 ตัวได้หมดทุกตัว
ผู้ทำวิจัยนำสื่อการอ่านสระภาษาไทยมาใช้ช่วยในการจัดการเรียนการสอน ทั้งหมด 7
ชั่วโมง ผลปรากฏว่า สามารถอ่านได้ 16 ตัว
ได้แก่ สระเอียะ
สระเออ สระเออะ สระโอะ สระเอะ สระโอ
สระเอา สระออ สระเอาะ สระเอือ สระเอีย
สระอัว สระอึ สระอือ สระแอะ
สระแอ คิดเป็นร้อยละ 100.00
7
สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
จากการที่ได้ทำการจัดการเรียนการสอนให้กับนางทิม ยมรัชวงค์ โดยการใช้สื่อพยัญชนะ
สระภาษาไทย จำนวน 7
ชั่วโมง นั้น ปรากฏว่า นางทิม ยมรัชวงค์
มีการอ่านออกเสียงพยัญชนะไทย 5 ตัว ได้ถูกต้อง ได้แก่ ษ ฎ ฏ ฐ ฌ คิดเป็นร้อยละ
100 และอ่านออกเสียงสระภาษาไทย จาก 16 ตัว สามารถอ่านได้ 16 ตัว คือ สระเอะ สระโอ สระเอา สระออ สระเอีย สระอัว
สระอึ สระอือ สระแอะ สระแอ สระเอียะ สระเออ
สระเออะ สระโอะ สระเอาะ สระเอือ คิดเป็นร้อยละ 100.00
8
เอกสารอ้างอิง
กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ. (๓๓/๒๕๕๗)
หลักสูตรการรู้หนังสือไทย พุทธศักราช ๒๕๕๗.
พยัญชนะภาษาไทย
***************************************************************************
ให้อ่านพยัญชนะต่อไปนี้
ก ข ฃ ค ฅ
ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ
ญ ฎ ฏ ฐ ฑ
ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ
สื่อสระภาษาไทย
สั่งให้นักเรียนอ่านสระต่อไปนี้
สระเอียะ สระเออ สระเออะ สระโอะ สระเอะ สระโอ
สระเอา สระออ สระเอาะ สระเอือ สระเอีย
สระอัว สระอึ
สระอือ สระแอะ สระแอ
-ะ อ่านว่า สระ อะ อำ อ่านว่า สระ อำ
-า อ่านว่า สระ อา ใ- อ่านว่า สระ ไอไม้ม้วน
อิ อ่านว่า สระ อิ ไ- อ่านว่า สระ ไอไม้มลาย
อี อ่านว่า สระ อี เ อี ยะ อ่านว่า สระ เอียะ
อุ อ่านว่า สระ อุ เ-อ อ่านว่า สระ เออ
อู อ่านว่า สระ อู เ-อะ อ่านว่า สระ เออะ
เ- อ่านว่า สระ เอ โ-ะ อ่านว่า สระ โอะ
เ-ะ อ่านว่า สระ เอะ โ- อ่านว่า สระ โอ
เ-า อ่านว่า สระ เอา -อ อ่านว่า สระ ออ
เ-าะ อ่านว่า สระ เอาะ เ อื อ อ่านว่า สระ เอือ
เ อี ย อ่านว่า สระ เอีย อัว อ่านว่า สระ อัว
อึ อ่านว่า สระ อึ
อือ อ่านว่า สระ อือ
แ-ะ อ่านว่า สระ แอะ
แ- อ่านว่า สระ แอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น